Posts

Showing posts from November, 2011

Java ME, Java SE, Java EE แตกต่างกันอย่างไร

Image
สำหรับนักพัฒนา Java มือใหม่หลายๆคนคงเคยได้ยินหรือได้เห็น J2..E หรือ Java ..E อะไรพวกนี้มาบ้างนะครับ ไม่ว่าจะเป็น Java ME, Java SE หรือ Java EE ทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ได้เป็นเทคนิค วิธีการ หรืออัลกอริทึมของภาษา Java แต่อย่างใดครับ เป็นเพียงแพคคนละขนาดเท่านั้นครับ อธิบายแบบบ้านๆก็คือ เหมือนเราไปเดินห้างของต่างๆก็จะมีแพครวม 4 ห่อบ้าง 6 ห่อบ้าง  หรือ 10 ห่ออะไรประมาณนี้ครับ ในภาษา Java ก็มีแพคให้เลือกตามนี้เลยครับ ก่อนหน้านี้ ได้ใช้ชื่อ J2..E สำหรับแต่ละรุ่น  ดังนี้ J2ME : Java 2 platform Micro Edition J2SE : Java 2 platform Standard Edition J2EE : Java 2 platform Enterprise Edition และได้มีเปลี่ยนชื่อใหม่ สำหรับ version ใหม่ โดยชื่อใหม่สำหรับแต่ละรุ่น คือ Java ME : Java   Platform, Micro Edition Java SE : Java   Platform, Standard Edition Java EE : Java   Platform, Enterprise Edition

[Java] Exception เขียนยังไง

Image
ใน Java ถ้าเราใช้ IDE เก่งๆ เวลาเราเขียน source code ที่มีจุดสำคัญ หรือมีผลกระทบต่อการทำงานของโปรแกรมขณะ runtime จะมีการแจ้งเตือนเลยว่าเราต้องจัดการกับ Exception ด้วย แต่ถ้าเราใช้เครื่องมือช่วยแบบไม่เข้าใจมัน มันก็เกะกะเกินไปได้ ในภาษา Java นั้นมี exception อยู่ 5 ตัวครับ exception ทั้ง 5 นายนี้มีชื่อว่า try, catch, throws, throw และ finally ครับ try โค้ดที่เขียนในส่วนนี้จะเป็นชุดคำสั่งที่จะเริ่มเข้าทดสอบใน exception ครับ แปลตรงไปตรงมาตามชื่อเลยก็คือ "ลอง(try)" ครับ โค้ดส่วนนี้จะถูกลองทำก่อน ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น เช่น หาฐานข้อมูลไม่เจอ โหลดไฟล์ไม่ได้ ก็จะทำให้โค้ดหลังจากจุดที่เกิด error ไปถึงจุดปิด scope ของ try จะถูกข้ามไปเลยครับ ซึ่งถ้าเราใส่ try ไปแล้ว compiler จะบังคับให้เรามี catch หรือ finally ด้วยครับ catch คำสั่ง catch จะถูกทำก็ต่อเมื่อมี exception เกิดขึ้นใน try ครับ หากมีปัญหาเกิดขึ้น จะมีการเรียกชุดคำสั่งใน catch ทันทีครับ แต่ catch จะต้องการ parameter ด้วย ซึ่งก็คือ ชนิดของ exception ครับ เช่น ต้องการดัก FileNotFoundException, IOException หรืออื่นๆ ซึ่ง 1 tr...

Servlet+JSP and MVC : Model-View-Controller

Image
พูดถึงการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object-Oriented Programming หรือ OOP) ก็คงต้องรู้จักสถาปัตยกรรมของ MVC (Model-View-Controller Architecture) ด้วย เพราะว่าการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ จะเหมาะกับการพัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ที่ประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ มากมาย โดยแต่ละส่วนจะมีการจัดสรรให้อยู่ในสถาปัตยกรรม MVC  ในบทความนี้ผมก็จะอธิบายถึง MVC ในการทำงานของ Java Servlet และ JSP ( Java Servlet คืออะไร? ) ซึ่งเป็นการพัฒนาเว็บรูปแบบหนึ่ง ที่ดูจะมีความเป็นเชิงวัตถุมากกว่า PHP อยู่มาก จากที่เคยมีประสบการณ์มาทั้ง 2 ภาษา ถึงแม้ว่า PHP จะสามารถเขียนได้ง่ายกว่าก็จริงอยู่ หรืออาจจะพยายามเขียนให้เป็น OOP ก็เถอะ ยังไม่ด้านนี้ก็เทียบ Java ไม่ได้แน่นอน ^^ จริงๆ แล้วข้อมูลเรื่อง MVC สามารถหาได้จาก Google ไม่ยาก แต่เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เพื่อให้นักพัฒนา Java Servlet มือใหม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็เลยเขียนขึ้นมาใหม่ เผื่อจะอ่านแล้วเข้าใจกว่าครับ (รึเปล่า ฮ่าๆ)

Facebook Comment

Recent Posts

Popular post of 7 days

Portal คืออะไรกันนะ???

มาตรฐานการตั้งชื่อตัวแปร (Naming Convention)

[Java] ความแตกต่างระหว่าง Overloading กับ Overriding

Popular

[Java] Java 8 DateTime ใหม่ ไฉไลกว่าเดิม

Portal คืออะไรกันนะ???

[Java] ความแตกต่างระหว่าง Overloading กับ Overriding

มาตรฐานการตั้งชื่อตัวแปร (Naming Convention)

เรื่องของ ++i กับ i++

ลืมรหัสปลดล็อค Android เข้าเครื่องไม่ได้ มีทางออกครับ

Port Forwarding สำหรับคนใช้ AIS Fibre

[Java] Java Static Variable และ Static Method

วิธีการสมัคร Apple Developer Program และ Enterprise Program ฉบับลงมือเอง

Android Auto & Apple Carplay คืออะไร ใช้งานยังไง