[Android] ใส่รหัส Google Play ก่อนซื้อของทุกครั้ง จะได้ไม่เสียเงินเยอะโดยไม่รู้ตัว

เป็นประเด็น HOT ที่สุด สำหรับช่วงนี้เลยก็ว่าได้ กับเกม COOKIE RUN ที่ทำให้มีผู้ที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่กดไปซื้อของในเกมจนเป็นเรื่องเป็นราวเสียตังกันหลักแสนเลยทีเดียวเชียว

ก่อนอื่นผมจะเล่าถึงการซื้อขาย application ก่อนนะครับ
1. paid app 
เราจะเห็นราคาตั้งแต่ก่อน download application มาใช้ คือต้องจ่ายเงินก่อนจะเป็นเจ้าของได้นั่นเอง


2. in-app purchase
เป็นระบบการซื้อขายใน application เช่น การซื้อของในเกม การปลดล็อคด่าน ซึ่งผู้พัฒนาเกมอาจให้ download มาใช้งานฟรีแต่หารายได้โดยการซื้อขายภายในเกมนั่นเอง


ไม่ใช่แค่ Cookie Run นะ !!
จากที่เห็น ผมเอาภาพของเกมอื่นๆ ที่เสียเงินเหมือนกัน เพื่อปรับความเข้าใจผิดว่าเล่น Cookie Run แล้วเสียตัง จะได้แก้ปัญหากันให้ตรงจุดครับ สังเกตกันดีๆ ไม่ว่าเราจะกดจ่ายเงินจากตรงไหนก็จะมี popup ที่เป็นของ Google Play อยู่ดี

เราเสียเงินได้ยังไงล่ะ ??
โดยปกติแล้ว Google Play จะให้เราใส่ข้อมูลบัตรเครดิต (Google Play & Google Wallet กับการซื้อ app. Android) เพื่อใช้ทำรายการได้ แต่ปัจจุบันได้มีลักษณะ Carrier Billing คือเรียกเก็บเงินจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ ในที่นี้ผมใช้ AIS ครับ
 
จากรูปจะเห็นว่าผมไม่ได้เปิดใช้ แต่ก็ไม่ได้มีผลอะไร เพราะผมใช้ระบบเติมเงินจาก mPAY เวลาจะซื้อ app ก็ใช้การตัดเงินจาก mPAY เป็นการควบคุมค่าใช้จ่ายไปในตัวครับ และจุดนี้เองที่ทำให้เราซื้อ app ได้โดยไม่ต้องมีบัตรเครดิตอีกต่อไป ทันทีที่เราเปิด AIS 3G billing ก็จะซื้อ app ได้โดยไปคิดเงินจาก AIS ได้ง่ายๆ

ระบบเติมเงินจะตัดจากยอดเงินคงเหลือทันที ส่วนระบบรายเดือนจะต้องรอรอบบิลถัดไป พอถึงจุดนี้ผมเริ่มเห็นข้อดีของระบบเติมเงินแล้วล่ะครับ อย่างน้อยถ้ากดสุ่มสี่สุ่มห้าไปโดน ผมก็เสียตังแค่หลักร้อย เพราะเราคงไม่เติมเงินโทรศัพท์กันมากมายนักหรอก แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม ผมก็คงต้องเสนอทางเลือกไว้กันเหนียวอยู่ดี

จะไม่ให้ซื้อเลย ทำได้ป้ะ??
ได้ครับ แต่ผมอยากให้ผู้ปกครองทำความเข้าใจกับเรื่องของการใช้ Google Email หรือ Gmail ทั้ง ที่ใช้งานร่วมกับ Android ว่าทั้งชื่อบัญชีและรหัสผ่านควรเก็บเป็นความลับ เพื่อขั้นตอนต่อไปนี้จะได้ประสบผลสำเร็จ คือบังคับใส่รหัสผ่านทุกครั้งที่จะซื้อ

1. ไปที่ SETTINGS ของ Google Play

2. tap ที่เมนู Require password for purchases เลือกเมนูแรก เพื่อให้ถามรหัสทุกครั้ง **แต่.. การตั้งค่านี้จะมีผลแค่เครื่องนั้นๆ เพียงเครื่องเดียว
 3. ทีนี้ไม่ว่าจะซื้อ app หรือ in-app purchase ก็จะมีการถามรหัสผ่านก่อนตลอดครับ (ถึงบอกก่อนหน้านี้ว่า รหัส ต้องเป็นความลับ  ^_^)


แล้วเงินที่เสียไปแล้วล่ะ ??
ในความคิดผมนะ AIS เขาเรียกเก็บตามการใช้งานของผู้ใช้ และมีการประกาศยกเว้นค่าบริการออกมา แต่จริงๆ มันไม่ได้เกี่ยวกับ AIS เลย การซื้อขายลักษณะนี้ AIS ก็เหมือนบัตรเครดิต ที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้, Google และผู้พัฒนา ถ้าเป็น paid app มีระบบ refund ภายใน 15 นาทีหลังจากซื้อแล้วไม่โอเคก็คืนเงินได้ ส่วน in-app purchase เท่าที่ผมรู้คือ ไม่มีระบบ refund อัตโนมัติ แต่ผู้พัฒนาสามารถแจ้งคืนเงินไปที่ Google ได้ แปลว่า AIS ต้องติดต่อกับผู้พัฒนาให้สำเร็จนั่นเอง มิฉะนั้นค่าบริการที่ประกาศว่ายกเว้นไปแล้วก็ต้องเป็นภาระของ AIS อ่ะนะ ^_^




Facebook Comment

Recent Posts

Popular post of 7 days

Portal คืออะไรกันนะ???

มาตรฐานการตั้งชื่อตัวแปร (Naming Convention)

วิธีการสมัคร Apple Developer Program และ Enterprise Program ฉบับลงมือเอง

Popular

[Java] Java 8 DateTime ใหม่ ไฉไลกว่าเดิม

Portal คืออะไรกันนะ???

มาตรฐานการตั้งชื่อตัวแปร (Naming Convention)

[Java] ความแตกต่างระหว่าง Overloading กับ Overriding

เรื่องของ ++i กับ i++

ลืมรหัสปลดล็อค Android เข้าเครื่องไม่ได้ มีทางออกครับ

[Java] Java Static Variable และ Static Method

Push Notification คืออะไร มีวิธีทำอย่างไร (No Code)

พิมพ์ซองจากรายชื่อ excel ด้วยวิธี Mail Merge

[Android] เปิดเครื่องไม่ได้ โลโก้ค้าง (Boot Loop)