Cloud Storage : ที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ที่หลายคนยังไม่เคยใช้

สมัยนี้ คำว่า "Cloud" มักจะโผล่มาให้ได้ยินบ่อยๆ ในความหมายต่างๆ ซึ่งในวันนี้ผมจะมาแนะนำ Cloud Storage หรือ ที่เก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆให้ได้รู้จักกัน

"Cloud" หรือ กลุ่มเมฆ อาจเป็นคำที่แปลตรงตัวไปซักหน่อยสำหรับภาษาไทย แต่ก็ต้องเข้าใจว่า มันเป็นการเปรียบเปรยหมายถึงกลุ่มเมฆ ที่มีขนาดกว้างขวางใหญ่โต จนเราไม่รู้ว่าอะไรอยู่ที่ไหนกันแน่ ดังนั้น "Cloud Storage" หรือ ที่เก็บข้อมูลบนกลุ่มเมฆ ก็คือ ฮาร์ดดิสก์ ที่เราไม่รู้ว่ามันอยู่ที่ไหนนั่นเอง (ไม่เกี่ยวกับเก็บไฟล์ไว้ในเครื่องตัวเอง แล้วหาไม่เจอเองนะ หุหุ)

สำหรับบริการที่เก็บข้อมูลออนไลน์ มีมากมายหลายรูปแบบ ทั้งลักษณะที่ใช้งานผ่าน Web Browser ผ่านมือถือ หรือผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งบริการที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็นลักษณะติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC / Notebook) และยังมีบริการบน Web Browser ด้วย เพื่อรองรับการ upload/download เล็กๆน้อย จากเครื่องอื่นที่ไม่ใช่เครื่องเราก็ได้

การติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความนิยมก็เพราะการใช้งานที่ง่าย โดยจะมี Folder หนึ่งในเครื่องเราเหมือน Folder อื่นๆ ทั่วๆไป เพียงแต่จะมีความสามารถพิเศษตรงที่ ถ้าเราวางไฟล์อะไรลงไป ก็จะมีการ upload ขึ้นสู่ Cloud อัตโนมัติ (ต้องต่อเน็ตนะ) และถ้ามีการเพิ่มไฟล์จากที่อื่น (หรือจากบนเว็บ) ก็จะมีการดึงลงมาใน folder นั้นๆ เอง รวมไปถึงการลบการแก้ไขต่างๆด้วย

แล้วบริการเหล่านี้ ต่างจากบริการฝากไฟล์ เช่น Mediafire, One2up,... ยังไง?
เว็บฝากไฟล์เหล่านี้ เหมาะสำหรับการ upload แล้วให้คนอื่นเข้ามา download ไฟล์เหล่านี้ไปอย่างอิสระ มักจะมีพื้นที่เยอะกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานในการ Download ไฟล์เยอะกว่า แต่มักจะถูกจำกัดความเร็วในการ upload/download

บริการแบบ Dropbox เอาไว้สำหรับเก็บข้อมูลของเรา หรืออาจแบ่งปันกันเฉพาะคนรู้จัก เป็นการลดปัญหาการแจกจ่ายไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย แต่ปัจจุบันก็เริ่มมีการปรับเข้าสู่จุดกึ่งกลางระหว่างบริการทั้ง 2 รูปแบบนี้ ทำให้แยกจากกันค่อนข้างลำบาก และก็ได้มีการประยุกต์การใช้งานจนแทบจะแยกกันไม่ออกแล้ว


สำหรับบริการที่ผมใช้อยู่นะครับ

Google Drive

Google Drive เป็นร่างพัฒนาจาก Google Docs ซึ่งใช้เก็บได้ฟรี 5GB ไม่มีระบบการชวนเพื่อนแล้วได้พื้นที่เพิ่มแต่อย่างใด สำหรับผมแล้ว ดูน้อยไปหน่อย และในส่วนของ Desktop Sync ยังไม่ค่อยประทับใจ ก็เลยใช้เป็น Backup สำหรับเก็บไฟล์สำคัญๆ เช่น Backup program, ไฟล์เอกสาร, E-Book ผ่านหน้าเว็บของ Google Drive (ซึ่งมีระบบ Offline Access อยู่แล้วถ้าใช้ Google Chrome)



Dropbox

Dropbox เป็นตัวแรกที่ผมใช้ Cloud Storage แบบ Sync จาก Desktop ครับ มีเนื้อที่เริ่มต้น 2GB ครับ แต่เราสามารถชวนเพื่อนมาใช้ได้ ก็จะได้เพิ่มอีกคนละ 500MB ครับ สะสมได้สูงสุดถึง 18GB แล้วถ้ามี email ของมหาวิทยาลัยที่เรียน(เคยเรียน) อยู่ก็เอามาใส่ Space Race ได้พื้นที่เพิ่มอีก 3GB ครับ ช่างเป็นอะไรที่ยืดหยุ่นพอสมควร ประกอบกับการทำงานที่เรียบง่าย เอาอะไรมาวางใน Folder Dropbox  หรือจะ upload ผ่านเว็บ ก็จะมีการ Sync ให้ตรงกันอยู่ตลอด

สมัครใช้งานที่นี่เลยครับ http://db.tt/rYZTcMj




Box เป็น Cloud Storage ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของผมเลยก็ว่าได้ เดิมที Box ให้เนื้อที่ฟรี 5GB และหลังจากที่ผมลงใน Android ก็ได้ปรับขนาดเป็น 50GB (ไม่แน่ใจว่าตอนนี้ยังมี promotion นี้อยู่หรือไม่) แต่การใช้งานของผมนั้นยังไม่ Ok เท่าไร เพราะว่า Box เพิ่งปล่อย Desktop Sync ออกมาไม่นาน และผมไม่สามารถติดตั้งได้ (Core-i5 4-Core, RAM 8 GB, 64-bit) ก็เลยยังไม่ได้ใช้เท่าไร แต่วางแผนไว้ว่าจะใช้เป็น ที่เก็บไฟล์ที่จำเป็นในการติดตั้งเครื่องใหม่ ซึ่งรวมๆกันแล้วก็เยอะอยู่เหมือนกัน (เอาไว้เป็นคลังแสง)



SugarSync เป็นอีกตัวเลือกที่ผมเองก็เพิ่งลองใช้ ความเก่งของมันอยู่ที่ Folder ไหนในเครื่องเราที่อยากจะ   Backup เก็บไว้ ก็คลิกขวาแล้ว Add ใส่ SugarSync ได้เลย มันต่างกับอันอื่นตรงที่ ไม่ต้องมี Folder พิเศษ แล้วยังมีการแยกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับ SugarSync ด้วย เช่น  A เป็นของคอมฯ, B เป็นของมือถือ โดยที่เราไม่ต้องมาแยก Folder เอง ผมชอบการ Add Folder ขึ้นสู่ SugarSync แบบง่ายๆ แต่การจัดการโดยภาพรวมค่อนข้างใช้ยาก Web Application ใช้งานค่อนข้างลำบาก การทำงานส่วนใหญ่ต้องอาศัย Desktop อีกทั้งวิธีการเก็บไฟล์ดูไม่เป็นระเบียบ (โฟล์เดอร์ไหนถูก Add ก็จะวางใน Root ของ SugarSync ของอุปกรณ์นั้นๆ) ผมว่า SugarSync เหมาะสำหรับเก็บ Backup เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉิน และเหมาะกับการโอนย้ายระหว่างอุปกรณ์ ไม่เหมาะกับการใช้จากเครื่องอื่น (ร้านเน็ต, เครื่องเพื่อน ฯลฯ)



สำหรับผมแล้ว ผมชอบแบบที่มี Folder ของมันเองมากกว่า (Google Drive, Dropbox, Box) เพราะว่าเราสามารถจัดการระบบระเบียบมันง่ายกว่าเหมือนการจัดการ Folder ในเครื่องเราเอง เพียงแต่จะมีการ upload ไปเก็บสำรองไว้บอก Server ของบริการนั้นๆด้วย สำหรับ SugarSync ต้องยอมรับว่าใช้งานจาก Desktop ได้ง่ายกว่ามาก ไฟล์ไม่ซ้ำซ้อน ไม่ต้อง Copy จากที่อื่นมาไว้ใน Folder เฉพาะเพื่อ upload ขึ้น Server แต่มันก็ต้องมีข้อจำกัดของมันคือ ความเป็นระเบียบของไฟล์ใน SugarSync Server ไม่ดีนัก จัดการยาก แล้วในกรณีที่อยากใช้นอกสถานที่ (ไม่ใช่เครื่องของเรา) บริการ 3 อย่างแรกก็สามารถทำให้เรา Upload ไปเก็บได้เลย แต่ SugarSync ต้องลงโปรแกรมในเครื่องก่อน เพราะว่าแต่ละอุปกรณ์ถูกแยก ทำให้ต้องลงโปรแกรมเพื่อเก็บไฟล์ของอุปกรณ์นั้นๆ ซึ่งก็ไม่สะดวกเท่าไร

แต่ผมว่า การใช้งานของผมนั้น มันไม่เหมาะสมกับสิ่งที่เค้าออกแบบมา ทำให้ผู้รู้สึกว่าบางอย่างมันไม่ดี บางอย่างมันดีกว่า ซึ่งแต่ละคนก็มีการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน เลือกให้เหมาะสมกับตัวเองนะครับ ^^



ขนาดพื้นที่เก็บข้อมูล ดูได้จากลิงค์ต้นฉบับเลยครับ 
https://www.dropbox.com/plans
https://www.box.com/pricing/
https://www.sugarsync.com/tour/

Facebook Comment

Recent Posts

Popular post of 7 days

Portal คืออะไรกันนะ???

[Java] ความแตกต่างระหว่าง Overloading กับ Overriding

มาตรฐานการตั้งชื่อตัวแปร (Naming Convention)

Popular

[Java] Java 8 DateTime ใหม่ ไฉไลกว่าเดิม

Portal คืออะไรกันนะ???

[Java] ความแตกต่างระหว่าง Overloading กับ Overriding

มาตรฐานการตั้งชื่อตัวแปร (Naming Convention)

เรื่องของ ++i กับ i++

ลืมรหัสปลดล็อค Android เข้าเครื่องไม่ได้ มีทางออกครับ

[Java] Java Static Variable และ Static Method

[Java] รู้จัก OR-Mapping และ Hibernate เบื้องต้น

Android Auto & Apple Carplay คืออะไร ใช้งานยังไง

วิธีการสมัคร Apple Developer Program และ Enterprise Program ฉบับลงมือเอง